วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ผักตบชวา

ผักตบชวา
ชื่ออื่นๆ:
บัวลอย  ผักปง  ผักตบ  ผักปอด  ผักป่อง  สวะ  ผักยะวา  ผักอีโยก
ชื่อสามัญ:
Water hyacinth, Floating water hyacinth
ชื่อวิทยาศาสตร์:
Eichornia crassipes (Mart.) Solms
วงศ์:
PONTEDERIACEAE
ถิ่นกำเนิด:
บราซิล
ลักษณะทั่วไป:
เป็นวัชพืชน้ำประเภทใบเลี้ยงเดี่ยวลอยน้ำ ทรงพุ่มกลม สูงประมาณ  50 – 100 ซม.
การขยาย

เมล็ด  ไหล อ่านเพิ่มเติม



นิทานเวตาลของไทย

นิทานเวตาลของไทย
        นิทานเวตาล เป็นวรรณกรรมสันสกฤตโบราณ เรื่อง เวตาลปัญจวิงศติ หรือนิทานเวตาล 25 เรื่อง ซึ่งถูกเล่าโดยกวีชื่อ ศิวทาส และได้ถูกเล่าขานกันต่อมากว่า 2,500 ปีล่วงมาแล้ว เดิมนิทานเวตาลได้เรียบเรียงเป็นร้อยกรอง ชื่อ ลิลิตเพชรมงกุฎ โดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่ถอดมาเพียงเรื่องแรกเท่านั้น ในภายหลังพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (พระบวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส) หรือ น.ม.ส. ได้ทรงแปลจากฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษของริชาร์ด ฟรานซิส เบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากสำนวนแปลของ ซี.เอช. ทอว์นีย์ อีก 1 เรื่อง ทำให้ฉบับภาษาไทยของ น.ม.ส. มีนิทานเวตาลทั้งหมด 10 เรื่อง สาระบันเทิงจากนิทานเวตาลฉบับนี้อาจเห็นได้จากการที่มีผู้จัดรายการโทรทัศน์นำไปสร้างเป็นละครจนได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเมื่อหลายปีก่อน ต่อมา ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา ได้แปลจากต้นฉบับเดิม ซึ่งเป็นภาษาสันสกฤตอักษรเทวนาครี จนครบ 25 เรื่อง โดยนิทานตั้งแต่บทที่ 1-25 เป็นส่วนหนึ่งของนิทานเวตาลที่เริ่มจากการเล่าของเวตาลให้แก่พระราชาฟังในระหว่างการเดินทางไปพบโยคี ตนหนึ่งอ่านเพิ่มเติม

ตะนาวศรี

ตะนาวศรี   
ในอดีตที่ผ่านมา เช่นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช 
หรือสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเมืองมะริด และตะนาวศรี  
ถือเป็นเมืองที่มีความสำคัญมากของไทย เนื่องจากเป็นเมืองที่พ่อค้า 
ต่างประเทศทางอินเดีย และยุโรปนำสินค้าจากทาง
เรือขึ้นมาค้าขายในเมืองไทย ถึงกับมีการแต่งตั้งเจ้าเมืองที่มีความรู้ความ
สามารถให้ปกครองดูแล  และด้วยความสำคัญทางยุทธศาสตร์เช่นนี้ในอดีตไทย
กับพม่าจึงมักมีศึกชิงเมืองมะริดตะนาวศรีอ่านเพิ่มเติม

อโศก

อโศก
ข้อมูลพฤกษศาสตร์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Polylthia longifolia  (Benth) Hook. F. var.
ชื่อวงศ์  ANNONACEAE.
ชื่อสามัญ  The Mast Tree
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ  อโศกเซนต์คาเบรียล , อโศกอินเดีย
ถิ่นกำเนิด  ประเทศอินเดียและศรีลังกา 
การกระจายพันธ์ : ในประเทศไทย   ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
                                 ในประเทศอื่นๆ   ประเทศอินเดียและศรีลังกา 
นิเวศวิทยา  ขึ้นได้ในดินทั่วไป
เวลาออกดอก   ระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนเมษายน
การขยายพันธุ์  ด้วยเมล็ดหรือตอนกิ่ง
การใช้ประโยชน์  ใช้เป็นไม้ประดับ
ประวัติพันธุ์ไม้(การนำเข้ามาปลูกในประเทศไทย) ภรดา ยงห์น แมรี่ เป็นผู้นำเข้ามาในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2500จากประเทศอินเดีย
ลักษณะวิสัย  : ไม้ต้น
เรือนยอด : รูปกรวย  ความสูง 4.5 ม.  ความกว้างทรงพุ่ม 1.5 ม.อ่านเพิ่มเติม

พิธีไหว้ครู

   พิธีไหว้ครู
    พิธีไหว้ครู หรือ การไหว้ครู มีหลายอย่าง เช่น การไหว้ครูนาฏศิลป์ ไหว้ครูดนตรี 
ไหว้ครูโหราศาสตร์ ไหว้ครูแพทย์แผนไทย เป็นต้น  
ซึ่งแต่ละอย่างก็จะมีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป แต่โดยทั่วไป 
เมื่อเอ่ยถึง พิธีไหว้ครู เรามักจะหมายถึง การไหว้ครูในสถาบันการศึกษาต่างๆ 
ซึ่งส่วนใหญ่จะทำในช่วงเปิดภาคการศึกษา  การไหว้ครู 
เป็นประเพณีสำคัญที่มีมาแต่โบราณ ถือเป็นพิธีกรรมที่แสดงความเคารพและ
ระลึกถึงพระคุณของบูรพาจารย์ อ่านเพิ่มเติ

แบบเรียนเล่มแรกของไทย

 แบบเรียนเล่มแรกของไทย
        ในสมัยเด็กๆ หลายคนอาจจะต้องท่องจำว่า 
ใครคือนายกรัฐมนตรีคนแรกของไทย แบบเรียนเล่มแรกของไทยชื่ออะไร 
ใครเป็นผู้แต่งเพลงสรรเสริญพระบารมี ฯลฯ 
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ แม้โตเป็นผู้ใหญ่แล้ว หลายคนก็ยังจำได้อยู่ 
แต่หลายคนก็อาจจะลืมเลือน ดังนั้น เพื่อเป็นการทบทวนความจำ
ทั้งความรู้เก่าและเกร็ดความรู้ใหม่ ที่บางคนอาจจะไม่เคยทราบมาก่อน
เกี่ยวกับประเทศไทย กลุ่มประชาสัมพันธ์ 
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม 
จึงขอนำสาระบางส่วนจากหนังสือ ความรู้รอบตัว รอบรู้เรื่องเมืองไทย” 
ของฝ่ายวิชาการชมรมเด็ก ซึ่งจัดพิมพ์โดยสุวีริยาสาส์น
มาเพื่อเสนอดังต่อไปนี้อ่านเพิ่มเติม


หน่วยการเรียนรู้ที่4 นิราศนรินทร์คำโคลง

นิราศนรินทร์คำโคลง

ความเป็นมา
      นิราศ เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ 
เท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบัน นิราศเรื่องแรกของไทยนั้นคือ 
โคลงนิราศหริภุญชัย ซึ่งแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา
๑.๑ ลักษณะของนิราศ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๔๒ อธิบายว่า นิราศหมายถึง .เรื่องราวที่พรรณนาถึงการจากกันหรือจากที่อยู่ไปในที่ต่างๆ
 ๑.๒ เนื้อหาของนิราศ
เนื้อหานิราศส่วนใหญ่มักเป็นการคร่ำครวญของกวี (ชาย) 
ต่อสตรีอันเป็นที่รักเนื่องจากต้องพลัดพรากจากนางมาไกล
ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุใดก็ตามอย่างไรก็ตามอาจกล่าวได้ว่า
วรรคดีนิราศมักมีความเศร้าเพราะร้างรักเป็นแก่นเรื่องของรายละเอียดอื่นๆ 
ที่ปรากฏในเนื้อเรื่องเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้นอ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่3 นิทานเวตาล เรื่องที่10

นิทานเวตาล (เรื่องที่ 10)
ความเป็นมา
     นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยมีชื่อเดิมว่า “เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ
     ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน  ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์   อีก 1 เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ 10 เรื่อง เมื่อ พ.ศ. 2461
     นิทานเวตาลเป็นนิทานที่มีลักษณะเป็นนิทานซับซ้อนนิทาน คือ มีนิทานเรื่องย่อยซ้อนอยู่ในนิทานเรื่องใหญ่

ประวัติผู้แต่ง
            พระราชวงศ์เธอ    กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงชำนาญด้านภาษาและวรรณคดีเป็นพิเศษ ได้ทรงนิพนธ์หนังสือไว้มากมายโดยใช้นามแฝงว่า “น.ม.ส.” ซึ่งทรงเลือกจากตัวอักษรตัวหลังพยางค์ของพระนาม (พระองค์เจ้า)รัชนีแจ่จรัสอ่า่นเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่2 อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

  อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
แนวคิด
    อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องของบทละครลำ เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีทั้งกลอน 
ทั้งความ และทั้งกระบวนการที่ตะเล่นละครประกอบการ และยังเป็นหนังสือที่ดี 
 ในทางที่ตะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณแม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าโครงมา
จากนิทานพื้นเมืองของชาวชวา  เอกสารที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
  ๒.๑ ความเป็นมา
  ๒.๒ ประวัติผู้แต่ง
  ๒.๓ ลักษณะคำประพันธ์
   ๒.๔ เรื่องย่อ
  ๒.๕ เนื้อเรื่อง
   ๒.๖ คำศัพท์
   ๒.๗ บทวิเคราะห์

ความเป็นมา
           อิเหนา เป็นวรรณคดีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งชาวชวาได้แต่งขึ้นเอเฉลิมพระเกียรติ
แด่พระมหากษัตริย์ ชวาพระองค์นี้ทรงนำความเจริญให้แก่ชาวชวา ซึ่งพระองค์เป็นทั้งนักรบ 
นักปกครอง และพระองค์ทรงมี พระราชธิดา ๑ พระองค์ และพระราชโอรส ๒ พระองค์ 
 เมื่อพระราชธิดาของพระองค์ได้ทรงเสด็จออกผนวช จึงได้แบ่งราชอาณาจักรเป็น ๒ ส่วน 
 คือกุเรปันอ่านเพิ่มเติม


หน่วยการเรียนรู้ที่1 คำนมัสการคุณานุคุณ

คำนมัสการคุณานุคุณ
     คำนมัสการคุณานุคุณ เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยอาจารยางกูร) 
 มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกและสำนึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 
 บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย 
ยึดมั่นในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไป
ปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
๑. ความเป็นมา
คำนมัสการคุณานุคุณที่คัดมาให้ศึกษามีเนื้อหาแบ่งออกเป็น ๕ ตอน 
แต่ละตอนมีที่มาจากคาถาภาษาบาลี ดังนี้
คำนมัสการพระพุทธคุณ : อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวาพุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทม
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
คำนมัสการพระธรรมคุณ :สวาก ขาโต ภะคะวะตา ธัมโมธัมมังนะมัสสามิ
คำนมัสการพระสังฆคุณ : สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆสังฆัง นะมามิ
คำนมัสการมาตาปิตุคุณ : มารดาทั้งสองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณอันหาที่สุดมิได้ 
 ข้าพเจ้าขอไหว่เท้าทั้งสองของมารดาบิดาของข้าพเจ้าด้วยความเคารพอย่อ่านเพิ่มเติม